วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

บทที่ 2 ความคิดสร้างสรรค์

1.ความหมายความสำคัญ
คำว่า “ความคิดสร้างสรรค์ ”อาจจะแยกออกได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือความคิดที่เกิดจากสมองซึ่งมีลักษณะ นามธรรม เช่น ความคิดที่จะประดิษฐ์สินค้าใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำรูปแบบสินค้าอื่นในตลาด ส่วนที่สอง คือสร้างสรรค์เกิดตามหลังความคิดมาหมายถึง การทำสิ่งที่คิดไว้ออกมาให้เห็นปรากฏเป็นรูปร่างอาจกล่าวได้ว่า การสร้างสรรค์เป็นลักษณะ ของรูปแบบ
2.ระดับความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั้นมีหลายระดับแต่ละคนจะมีคุณสมบัติที่ไม่เท่ากันนักจิตวิทยาสังคม ชื่อ ดร.เออร์วิง เอ. เทเลอร์ ได้จำแนกระดับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ไว้ 5 ระดับ ดังนี้
1.ความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะการแสดงออก ในขั้นนี้จัดได้ว่าเป็นขั้นเบื้องต้น ซึ่งความเชี่ยวชาญชำนาญยัง ไม่ใช่ เรื่อง สำคัญที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าจะเปรียบเหมือนกับการวาดภาพของเด็ก ๆ การแสดงออกถึงจินตนาการหรือ เรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นโลกแห่งความฝันโลกที่เราสมมุติขึ้น คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นนี้ จะปล่อยให้จิตใจและ จินตนาการ เป็นอิสระ ไม่มีขอบเขตจำกัด
2.ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการผลิตในขั้นนี้จะเป็นความคิดสร้างสรรค์ซึ่งแสดงออกถึงความชำนาญใน สายงานอาชีพของตน ถ้าจะยกตัวอย่างในงานวงการออกแบบโฆษณาก็หมายความว่า นักออกแบบผู้นั้นสามารถแต่ง ขัดเกลางานซึ่ง มาจากจินตนาการของตนในขั้นที่หนึ่งให้เป็นที่เข้าใจ และยอมรับในหมู่ของผู้คนที่ทำงานในแวดวง เดียวกันได้
3.ความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์ อาจกล่าวได้ว่า ผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในขั้นนี้เป็นนักประดิษฐ์ สามารถ นำเอาแนวความคิดเก่ามาหาทางใช้ได้ในวิธีการใหม่ ๆ คือ ความคิดพื้นฐานเดิมนั้น ยังคงอยู่ไม่มีสิ่งใหม่ในแนวคิด แต่ความ สามารถที่มองเห็นสำหรับนักประดิษฐ์ก็คือ ความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
4.ความคิดสร้างสรรค์ในด้านการแสวงหาแนวทางใหม่โดยไม่ติดอยู่กับความคิดเดิมสำหรับขั้นนี้ศิลปิน ผู้มี ความคิดสร้างสรรค์จะแสดงความคิดสามารถของเขาในเชิงนามธรรม เขาจะหลีกลี้ไปจากโลกของความจริง พวกนี้อาจ จะได้แก่ กลุ่มนักคิดในสำนักการออกแบบแนวใหม่
5.ความคิดสร้างสรรค์ในขั้นสูงสุดคือผู้คิดสร้างหลักเกณฑ์ใหม่โดยสิ้นเชิงศิลปินกลุ่มนี้จะเป็นผู้มีความสามารถ สูงในศิลปะที่แสดงออกในด้านนามธรรม เป็นพวกที่อาจจะตั้งกลุ่มนักคิดสำนักใหม่ในด้านการออกแบบขึ้นมาให้ สังคม ได้
3.หลักเกณท์การออกแบบ
3.1 ส่วนสัด
3.2 ความสมดุล
3.3 ความแตกต่าง
3.4 ลีลา
3.5ความมีเอกภาพ
3.6ความผสมกลมกลืน
3.7การจัดวางรูปร่าง
4.การใช้ภาพประกอบ
4.1การใช้ภาพตัดตก
4.2ขนาดของภาพ
4.3การบังภาพ
4.4การคัดเลือกภาพ/การจัดเรียงภาพ
4.5การจัดภาพขนาดเล็กให้รวมเป็นกลุ่มให้รวมเป็นกลุ่ม
4.7ทำให้ส่วนสำคัญของภาพเป็นที่น่าสนใจ/ใช้คำอธิบายประกอบภาพ
5.การใช้สีในการพิมพ์
5.1การใช้ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน
5.2ความแตกต่างระหว่างการพิมพ์ภาพสี่สีกับการพิมพ์ที่สองพิพม์ขึ้น
5.3การเลือกใช้สี
5.4เทคนิคการใช้สีหลายสีโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อย

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

Hello. This post is likeable, and your blog is very interesting, congratulations :-). I will add in my blogroll =). If possible gives a last there on my blog, it is about the Servidor, I hope you enjoy. The address is http://servidor-brasil.blogspot.com. A hug.